วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Love and Affection

ความรักคือรูปแบบหนึ่งของอารมณ์ ใครบางคนได้เคยกล่าวไว้ว่า ความรัก คือ อารมณ์ที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ความรักเป็นอารมณ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อันประกอบไปด้วยหลายขั้นและหลายองค์ประกอบที่ซับซ้อน ซึ่งได้แก่ Companionate และ Romantic LoveRomantic Love เป็นรูปแบบความรักที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมมาแต่โบราณโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย Romantic Love มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ความต้องการทางกายและสัญชาติญาณในการสืบเผ่าพันธุ์ จึงเป็นรากฐานของ Romantic Love

Love โดยทั่วไปหมายถึงความสัมพันธ์ในสังคม (social relationship) มากกว่าขบวนการหรือสภาวะทางอารมณ์ (Emotional process or state) เมื่อเรากล่าวว่าคนสองคนเป็นคู่รักกัน เราจะหมายถึงความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่มั่นคง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึก "รัก" ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม แต่ไม่จำเป็นว่าความรู้สึกนั้นจะต้องคงที่

ในความรักที่แท้จริง อาจจะมีความรู้สึกหลาย ๆ แบบปะปนกัน ตั้งแต่ ความหวัง ความหลงใหล ความโกรธ การวางเฉย ความเบื่อ ความรู้สึกผิด ความทุกข์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคู่รัก ในช่วงเวลาต่างๆ ความสัมพันธ์อาจเปลี่ยนจาก Romantic Love ไปเป็น Companionate Love หรือจาก Companionate Love ไปเป็น Romantic Love ก็ได้Sternberg (1987) กล่าวว่า ความรัก มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความผูกพัน (Intimacy) ความหลงใหล (Passion) และข้อผูกมัด (Decision Making)

องค์ประกอบดังกล่าวเปรียบเสมือนมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า อันเป็นตัวกำหนดรูปแบบของความรัก 7 ชนิด ได้แก่
1. เฉย (nonlove) เป็นความรู้สึกของคนทั่วไปในสังคมที่ไม่รู้จักกันมาก่อน

2. ชอบ (Liking) หมายถึง ความรู้สึกใกล้ชิดผูกพัน ต่ออีกบุคคลหนึ่ง แต่ปราศจากความหลงใหล หรือข้อผูกมัด

3. รักแรกพบ (Infatuated Love) เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหลงใหล แต่ปราศจากความผูกพันหรือข้อผูกมัด

4. หมดรัก (Empty Love) เกิดจากการตัดสินใจผูกมัดที่ปราศจากความผูกพัน และความหลงใหล พบได้ในคู่รักที่คบกันมาสักระยะจนความรู้สึกถูกใจในรูปร่างหน้าตาเริ่มหมดไป

5. รักโรแมนติก (Romantic Love) ประกอบด้วยความหลงใหล ผูกพัน โดยปราศจากข้อผูกมัด

6. Fatuous Love เป็นความรักที่มีข้อผูกมัด และความรู้สึกหลงใหล แต่ปราศจากความผูกพัน

7. Consummate Love เป็นความรักที่มีองค์ประกอบครบทั้งสามด้าน คือทั้งความหลงใหล ข้อผูกมัด และความใกล้ชิดผูกพัน

Freud กล่าวว่า ความรัก ทำให้ได้มาซึ่งพลังอำนาจ และความรุนแรง
ฟรอยด์คิดว่าประสบการณ์และความรู้สึกจากวัยเด็ก จะมีผลต่อความสัมพันธ์ และความเข้าใจในความสัมพันธ์อื่น ๆ ในชีวิต
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกบุคคลที่ตนจะมีความสัมพันธ์ด้วย (object choice) ดังที่ฟรอยด์ได้เคยอธิบายว่าการเลือกบุคคลที่จะมีความสัมพันธ์ด้วยอาจจะเป็นแบบ anaclitic ซึ่งเป็นการเลือกเพราะบุคคลที่ตนเลือกนั้นกระตุ้นให้ระลึกถึงบุคคลที่มีความสำคัญในอดีต หรือการเลือกแบบ narcissistic โดยการเลือกบุคคลที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนตนเอง โดยที่ทั้งสองแบบนั้นอาจเป็นแบบบวก (positive way) คือเลือกคนที่เหมือนบุคคลในอดีตหรือเหมือนตน แบบลบ (negative way) คือเลือกคนที่ตรงกันข้ามกับบุคคลในอดีตหรือตนเอง และแบบอุดมคติ (ideal way) คือบุคคลที่ตนเลือกนั้นเป็นเหมือนดังที่ตนเองอยากให้บุคคลในอดีตหรือตนเองเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น