วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Physiology of love

ได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างการทำงานของสมองและสารเคมีในร่างกายในขณะที่กำลังมีความรัก อยู่หลายชิ้น

Bartels A, Zeki S. ทำการวิจัยใน subject 17 คนซึ่งกำลังตกอยู่ในห้วงรัก โดยให้คนเหล่านั้นเข้าเครื่องตรวจ MRI scan พร้อมกับดูรูปถ่ายคนรักของตัวเอง ก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบกับผลตรวจเมื่อคนเหล่านั้นดูรูปถ่ายของเพื่อนสนิท 3 คนที่มีเพศเดียวกันกับคู่รักของตนตลอดจนมีอายุและระยะเวลาที่รู้จักกันมาพอ ๆ กับคู่รักด้วย ผลการศึกษาพบว่ามีการทำงานมากขึ้นของ foci ใน medial insula และ anterior cingulate cortex รวมทั้ง caudate nucleus และ putamen ทั้ง 2 ข้าง ในขณะที่ posterior cingulate gyrus และ amygdala ตลอดจน right-lateralized in the prefrontal, parietal และ middle temporal cortices มีการทำงานที่ลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งตำแหน่งที่พบเหล่านี้ต่างออกไปจากที่พบในการศึกษาของอารมณ์ความรู้สึกอื่น ๆ จึงอาจสรุปได้ว่าการทำงานของอารมณ์รัก เกิดขึ้นที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ

Marazziti D, Akiskal HS, Rossi A, Cassano GB. ได้ทำการศึกษาใน subject 20 คน ซึ่งเพิ่งตกหลุมรักในช่วง 6 เดือน เปรียบเทียบกับคนไข้ Obsessive Compulsive Disorder (OCD) ที่ไม่ได้รับการรักษา 20 คน และ control อีก 20 คน โดยนำมาตรวจวัดระดับ 5-HT transporter บริเวณ Platelet membrane ด้วยวิธี 3H-Par (3H-paroxetine) ผลการศึกษาพบว่า 3H-Par binding sites ในคนที่กำลังมีความรักและคนไข้ OCD มีปริมาณต่ำกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนที่กำลังอยู่ในห้วงของความรัก (early romantic phase of a love relationship) นั้นมีความหนาแน่นของ platelet 5-HT transporter ที่ลดลงกว่าคนปกติ เช่นเดียวกันกับคนไข้ OCD (นั่นอาจเป็นคำอธิบายที่ว่า เหตุใดคนมีความรักจึงชอบคิดซ้ำซากวกไปวนมาถึงคนรัก ไม่ต่างจากคนไข้ OCD)

Porges SW. กล่าวว่า วิวัฒนาการของ Autonomic Nervous System ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง ทำให้เกิดกระบวนการต่างๆทางอารมณ์ เช่น การเกี้ยวพาราสี, sexual arousal และความผูกพัน เชื่อว่า ระบบประสาทอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับความรัก
ส่วนที่ 1 ได้แก่ Unmyelinated vagus nerve ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและทำให้เกิดพฤติกรรม "อยู่เฉยๆ" (immobilized system)
ส่วนที่ 2 ได้แก่ Sympathetic nervous system ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่ม metabolic output และ inhibit visceral vagus ทำให้เกิดพฤติกรรม "หนี" หรือ "ต่อสู้" (fight or flight)
ส่วนที่ 3 ได้แก่ Myelinated vagus ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม cardiac output โดยมีส่วนเชื่อมต่อกับ Cranial nerve ที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของสีหน้าและการสนทนา

มีทฤษฎี Polyvagal Theory กล่าวถึงการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรัก ซึ่งมี 2 ขั้นตอน ได้แก่การเกี้ยวพาราสี และการดำรงความสัมพันธ์ โดยการเกี้ยวพาราสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมและ Myelinated vagus ส่วนการดำรงความสัมพันธ์ จะมีความเกี่ยวข้องกับ Unmyelinated vagus ซึ่งทำหน้าที่ใน immobilized system และทำให้เกิดความรู้สึก "ปลอดภัย" หรือ "เชื่อใจ" ทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่า Vagus nerve มีการสื่อสารกับ hypothalamus ผ่านทาง oxytocin และ vasopressin ทำให้เกิด sexual arousal และความสัมพันธ์อันยืนนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น